Effectively driving innovation activities require a systematic process starting from how an innovation team is formed, what approaches and tactics are used for understanding needs and problems, how to come up with proper ideas and solutions, and the most importantly, how to make innovation happened and commercialized it.
The photos and video below how staffs actively interact and go through the process to come up with innovation projects.
การขับเคลื่อนกิจกรรมด้านนวัตกรรมจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การจัดกลุ่มคณะทำงาน ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อระบบโอกาสของการทำนวัตกรรม การปฏิบัติการและดำเนินการให้นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นจริง และรวมไปถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการวางแผนการเชิงพานิชย์ (commercialization) หรือการทำให้เกิดการยอมรับใช้งาน (acceptance)
รูปและวีดีโอแสดงการขั้นตอนและการจัดการให้มีส่วนร่วมของบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างเป็นระบบและเกิดผลที่เป็นรูปธรรม
To manage innovation effectively, a new term, “innovative organization”, is proposed to explain the appropriate characteristics and processes in which a firm should have to support innovation activities. However, one of the basic questions addressing by the management of any firm is “What should the management do to develop our organization to become an innovative organization?”
To tackle this issue, an assessment model was developed to help the management team measure the current status along with the key organizational characteristics required to be an innovative organization. The assessment can also identify the areas needed for improvement based on the difference between the current status and the desirable targets.
With this analysis the management team can determine a proper strategic direction and develop a strategic roadmap to plan proper activities and allocate resources for guiding an organization to become an innovative organization.
นวัตกรรมถือเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กรเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งในการที่องค์กรจะบริหารจัดการและส่งเสริมกิจกรรมด้านนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น องค์กรต้องมีการพัฒนาคุณลักษณะและกระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบภายใต้คำนิยามที่เรียกว่า “องค์กรนวัตกรรม (Innovative Organization)” อย่างไรก็ตามยังมีคำถามสำหรับผู้บริหารในหลายๆองค์กรที่ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม
แบบจำลองประเมินระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการประเมินสถานะขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งระบุพื้นที่ที่องค์กรควรให้ความสนใจเพื่อที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ผลจากการประเมินจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสามารถพัฒนา แผนที่นำทางองค์กรสู่นวัตกรรม (strategic roadmap for innovation) เพื่อช่วยในจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม
Open innovation becomes an alternative strategy with the notion of the exploration and exploitation of idea and technology outside a firm’s boundary. Open innovation receives much attention from leading firms worldwide. One of key success factors of open innovation relies on working with well-matched partners. However, the major question is that in what way managers can identify how well selected partners match with the firm while a technology market is resided by multiple choices of partnering firms with heterogeneity in types and profiles.
Click “the matching quality assessment model” video to see how this instrument helps you to identify the matching quality of partners.
การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเองด้วยทรัพยากรและฝีมือของบุคคลภายในองค์กรซึ่งมีอยู่จำกัดอาจไม่ใช่วิธีสร้างได้เปรียบในการแข่งขันอีกต่อไปแล้ว “นวัตกรรมแบบเปิด” (Open innovation-OI) หรือการสร้างนวัตกรรมจากการแสวงหา และใช้ประโยชน์จากไอเดียและเทคโนโลยีที่มีอยู่ภายนอกองค์กรจึงกลายเป็นกลยุทธ์ทางเลือกใหม่ที่หลายองค์กรชั้นนำทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้การใช้กลยุทธ์นวัตกรรมแบบเปิดประสบความสำเร็จได้ก็คือ การได้ร่วมพัฒนานวัตกรรมกับพันธมิตรภายนอกที่สามารถช่วยเหลือและเข้ากับองค์กรได้
แต่คำถามสำคัญคือ องค์กรจะทราบให้แน่ชัดได้อย่างไรว่าพันธมิตรภายนอกแต่ละรายจะมีส่วนช่วยเหลือและมีความเข้ากันได้กับองค์กรมากน้อยแค่ไหน คลิกดูวิดีโอคลิปนี้เพื่อรับชมว่า “เครื่องมือวัดคุณภาพความเข้ากันได้” ที่เราเรียกว่า Matching Quality Assessment Model ของเราจะช่วยแก้ปัญหานี้ให้องค์กรของคุณได้อย่างไร
The concept on the development of ecosystem and sectorial system of innovation (SSI) provides a broader- and longer-term view of the evolution and dynamics of sectors. The concept presents key players and their interactions for the creation, production and sale of products/services.
The players can be individuals and organizations at various levels of aggregation, with specific learning processes, competencies, organizational structure, beliefs, objectives and behaviours. They interact through the processes of communication, exchange, cooperation, competition and command, and their interactions are shaped by institutions.
แนวทางการยกระดับความสามารถขององค์กรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจไม่เหมือนกันในแต่ละองค์กร บางแห่งอาจใช้แนวทางการดำเนินการเฉพาะภายในองค์กรเป็นหลัก ในขณะที่บางแห่งอาจจะพิจารณาถึงความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อเติมเต็มส่วนที่บกพร่องหรือต่อยอด
การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลไกในการพัฒนา การสื่อสาร การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ระบบนวัตกรรม (Ecosystem/Innovation System) จึงมีบทบาทเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ โดยภาพรวมแล้วระบบนวัตกรรมประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Actors) และส่วนการเชื่อมโยง (Linkages) ซึ่งการเชื่อมโยงนี้จะกล่าวถึงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศระหว่างกลุ่มผู้สนใจ องค์กร และสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการในการขับเคลื่อนนวัตกรรม โดยกลไกหลักในการขับเคลื่อนดังกล่าว ประกอบไปด้วย กิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือภายในอุตสาหกรรม (Joint industry activities) การปฎิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public/private sector interactions) การแพร่ของเทคโนโลยี (Technology diffusion) และการเคลื่อนย้ายบุคลากร (Personnel mobility)
The process of translating an idea or invention into a good or service that creates value